สั่งของจากเว็บต่างประเทศแล้วต้องเสียภาษีหรือไม่
การ สั่งของจากเว็บต่างประเทศ หลายท่านเข้าใจว่าสั่งมาแล้วเมื่อมาถึงไทยก็สามารถส่งถึงตรงยังผู้รับได้ทันที นี่อาจจะเป็นความเข้าใจที่ผิดได้ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสินค้าที่มีการส่งออกนำเข้าจะต้องผ่านการตรวจสอบจากศุลกากรทั้งหมด การสั่งของจากต่างประเทศแม้ในบางครั้งที่เราสั่งจากเว็บเพียงเล็กน้อย นั่นหมายถึงสินค้านั้นเมื่อมาถึงไทยก็ย่อมต้องเสียภาษีเช่นกัน แต่ด้วยจำนวนที่น้อยมูลค่าที่ไม่มาก ก็เลยทำให้ผู้สั่งไม่ได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วสินค้านั้นก่อนมาถึงมือได้ผ่านกระบวนการศุลกากรไปแล้ว และ โดยส่วนมากนั้นสินค้าเล็กน้อยที่มีลักษรณะเช่น 1 กล่อง มักจะถูกส่งมาทางอากาศยานด้วยเหตุผลดังนี้
- สินค้ามีขนาดเล็ก
- การส่งทางอากาศยานมีความรวดเร็วมากกว่า
สั่งของจากเว็บต่างประเทศแล้วโดนศุลกากรให้จัดทำใบขนสินค้า
เมื่อสินค้ามาถึงภายในประเทศแล้วบางท่านอาจเคยได้รับการแจ้งจากสายการบินให้ดำเนินการหา ชิปปิ้ง ดำเนินการจัดทำใบขนสินค้าเพื่อการนำเข้าเป็นเฉพาะราย ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าบางประเภทนั้นอาจจะอยู่ในข่ายของสินค้าที่มีการควบคุมซึ่งก็ต้องเป็นไปตามกฏหมายการควบคุมของแต่ละชนิด เช่น กลุ่มเครื่องสำอางค์ ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งก็มักจะสร้างความแปลกใจให้กับผู้ซื้อมาไม่น้อย เพราะต่างเข้าใจว่าก็สั่งมาใช้เอง หรือ จะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม แต่ในขณะที่สินค้ามาถึงแล้วกลับพบปัญหานี้ การแก้ไขก็คงต้องปรึกษาชิปปิ้ง ให้ดำเนินการให้เพื่อนำสินค้านั้นออก เหตุผลของการจัดสินค้าที่ต้องทำใบขนสินค้าขาเข้าแยกเฉพาะรายมีดังนี้
- มูลค่าของสินค้าแม้มีขนาดเล็กแต่มูลค่าสูง
- ชนิดของสินค้าที่ต้องมีการตรวจสอบเฉพาะ
- สินค้าอยู่ในข่ายความควบคุมของหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากศุลกากร
- ถูกสงสัยว่าเป็นสินค้าต้องห้ามจึงขอตรวจสอบละเอียดขึ้น
อย่างไรก็ตามการสั่งของจากเว็บต่างประเทศนั้นหากปริมาณไม่มาก และเป็นการสั่งเพื่อใช้เป็นการส่วนตัว (personal use ) ก็อาจจะสามารถขออนุโลมในบางกรณีได้หากสินค้านั้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงานควบคุมอื่น