นำเข้า คำแนะนำเริ่มต้นธุรกิจต่างประเทศ

นำเข้า กับ คำแนะนำและแนวคิดของการเริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ผสานแนวคิดจากประสบการณ์สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะเริ่มทำธุรกิจนำเข้าสินค้า ควรอ่านและศึกษาบทความต่อไปนี้ซึ่งเราจะนำเสนอในรูปแบบที่ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ในมุมมองโดยรวม ซึ่งหลายท่านอาจได้ศึกษาจากบทความของ ที่อื่นๆมาหลากหลายบทความแต่ในบางครั้งอาจเป็นเรื่องที่ทำให้การศึกษาของท่านเข้าใจได้ยากทั้งในส่วนของขั้นตอนเริ่มต้นก่อน-หลัง และ จุดที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษของการตัดสินใจบทความนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นบทความที่จัดทำเสนอแนวทางให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาพิจารณานำไปใช้กับธุรกิจของท่านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการดำเนินการทั้งในแง่ความเสี่ยงจากผู้ขาย และ ความเสี่ยงจากการดำเนินการนำเข้าภายในประเทศจากประสบการณ์ที่ทางบริษัทฯได้พบเจอจากผู้ประกอบการรายอื่นๆที่เคยประสบปัญหามา จนทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ที่เรียกได้ว่าเสียแบบไม่ควรต้องเสีย จึงขอนำเสนอแบบเป็นขั้นตอนต่อไปนี้

จะนำเข้าสินค้าอะไร นำเข้ายังไง เริ่มต้นนำเข้า จากประเทศใด ภาษีนำเข้าเท่าใด ใช้สิทธิประโยชน์ FTA อะไรได้บ้าง

  • ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขายในแง่ของการออกหนังสือรับรองเมืองกำเนิดสินค้า (CERTIFICATE OF ORIGIN) หรือ FTA เป็นสิ่งที่ท่านควรศึกษาเป็นอันดับแรกเลยทีเดียวเพราะนั่นหมายถึงการดำเนินการในระยะยาวของท่านจะสามารถควบคุมต้นทุนได้ดี และ ค้นหาสินค้ารวมถึงผู้ขายจากประเทศที่ท่านสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้เพราะผู้ขายบางรายนั้นเป็นตัวแทนการค้าซึ่งบางรายไม่สามารถดำเนินการอกหนังสือสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ เพื่อลดต้นทุนเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาต้องหาสินค้าจากแหล่งใหม่เพราะกว่าจะมั่นใจในการค้าของคู่ค้าต่างประเทศแล้วย่อมต้องใช้เวลาการศึกษาในส่วนนี้จะสามารถตอบโจทย์ท่านได้ว่าคุ้มหรือไม่คุ้มที่จะดำเนินการแต่ต้องไม่ลืมไปว่าคุณภาพสินค้าของท่านที่จะซื้อจากประเทศนั้นอยู่ในเกณท์ที่ท่านยอมรับได้ด้วยเช่นกัน หรือจะปรึกษา  ก็ได้เช่นกันเพื่อเป็นแนวทาง
  • ซื้อขายยังไง แบบไหน จ่ายเงินยังไงเมื่อท่านได้ค้นหาผู้ขายสินค้าตามที่ท่านต้องการแล้ว ก็อย่าเพิ่งแน่ใจไปเชียวเพราะท่านยังต้องคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจะเป็นคู่ธุรกิจท่านอีกเช่นกันและควรคำนึงถึงระยะยาวด้วย เพราะเพราะการซื้อขายระหว่างประเทศเป็นเรืองละเอียดมาก เมื่อพบแล้วท่านจะต้องพิจารณาคุณสมบัติเป็นรายข้อเพื่อความมั่นใจ และ ไม่ให้เป็นการเสียเวลาและตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้นอันดับแรกคงไม่พ้นเรื่องเงิน ราคาขายจะเป็นเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ท่านจะต่อรองกับผู้ขายซึ่งสามารถดูได้จาก INCOTERM แต่ที่ยอดฮิตและใช้กันบ่อยก็มี 3 แบบครับ

รูปแบบการซื้อขาย(INCOTERM)

  •  CIF (มูลค่าสินค้า+ค่าขนส่งจากผู้ขายมายังท่าเรือในประเทศเรา+ค่าประกันภัยสินค้า)ต้นทุนจาก 3 ส่วนคือผู้ขายจะเป็นผู้ติดต่อจัดหาการขนส่งและประกันภัยให้กับเรา เรียกได้ว่า ผู้ขายดำเนินการทั้งหมดครับแต่ผู้ซื้อจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่ผู้ขาย
  • CFR(มูลค่าสินค้า+ค่าขนส่ง) ผู้ขายจัดหาหรือติดให้ทั้งหมดแต่เราจ่ายให้ผู้ขายเช่นกัน
  • FOB(มูลค่าสินค้าอย่างเดียว) เราก็จ่ายอยู่ดีนะครับ แต่แยกเป็น 2 ส่วน ค่าสินค้าจ่ายให้ผู้ขายแต่ค่าขนส่งเรามาจ่ายภายในประเทศให้แก่บริษัท สายเรือขนส่ง ณ ตอนที่สินค้ามาถึงท่าเรือ

ทั้ง 3 แบบ ที่ได้อธิบายมาหากดูแล้วทุกสิ่งทุกอย่างผู้ขายจะเป็นผู้จัดหาให้เราหมด ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สะดวกสบายสำหรับผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อเสียเพราะทุกอย่างที่จัดหามาให้เรานั้นยังไงเสียเราก็จ่ายอยู่ดี แต่จะส่งให้เราจริงได้ตามเวลามั๊ย ส่งจริงหรือป่าวอันนี้ต้อง มาดูการชำระเงินกันก่อนดีกว่า

จะให้จ่ายกันยังไง เพราะบางประเทศผู้ขายชื่นชอบจะให้เราโอนเงินก่อนค่อยส่งของเช่น
  • T/T 100% ลักษณะนี้คือต้องการให้เราโอนเงินไปก่อนเต็มจำนวนก่อนส่งของ ไม่ชัวร์จริงอย่าเชียวนะครับแต่ถ้ามูลค่าสินค้าไม่สูงก็พอเสี่ยงได้ ถ้ามากก็อย่าด่วนตัดสินใจหากยังไม่มั่นใจกับผู้ขายรายนี้อย่างเพียงพอ เพราะถ้าเกิดความสูญเสียขึ้นมา
  • T/T Down Payment 30% โอนให้ผู้ขายโดยการวางมัดจำก่อน 30% ของมูลค่าสินค้า เป็นเงินมัดจำก่อนการผลิตสินค้า เพื่อผู้ขายจะได้มั่นใจว่าซื้อแน่ชัดเจน ส่วนที่เหลืออีก 70 อาจจ่ายก่อนส่งหรือจ่ายตอนที่สินค้ามาถึงท่าเรือประเทศเราโดยผู้ขายจะกัก B/L Original ไว้และจะส่งให้เมื่อมีการชำระเงินครบถ้วน เพราะ B/L Original เป็นแกนนำสำคัญที่จะทำให้ ชิปปิ้ง สามารถนำไปปฏิบัติงานขอรับใบสั่งปล่อยสินค้าหรือที่เรียกว่า D/O (Delivery Order )เพื่อนำไปขอรับสินค้าออกจากท่าเรือได้ หรือ อีกวิธีที่ ผู้ขายทำกันคือ Telex Realease,Surrender B/L  ซึ่งจะทำการสั่งปล่อยมายังสายเรือที่ประเทศเราผ่านสายเรือขนส่งเมื่อชำระเงินครบจำนวน ชิปปิ้ง ก็สามารถไปรับใบสั่งปล่อยสินค้าที่สายเรือได้
  • L/C (Letter of Credit) เป็นทางเลือกที่ปลอดภัย โดยใช้ธนาคารเป็นตัวกลางในแบบสากลกันไปเลย แต่ก็มีผู้ขายในต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบการชำระเงินด้วยเงื่อนไขนี้ด้วยเงื่อนไขนี้มีข้อกำหนดที่ระบุคุณภาพ จำนวน คุณลักษณะอื่น ๆ ของสินค้า รวมไปถึงเอกสารที่ผู้ขายต้องจัดทำให้ และ ระยะเวลาการส่งมอบที่ชัดเจน โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ ผู้ขายส่วนมากจะปฏิเสฐกับเงื่อนไขนี้ อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการด้วย มักจะใช้ในกรณีที่มูลค่าสินค้าที่สูง และ คุณภาพของสินค้าต้องชัดเจน

เมื่อได้ทราบแต่ละเงื่อนไขแล้ว โอนก่อนก็เสี่ยง L/C ผ่านธนาคารก็ไม่ขายให้ ก็อยากได้ของผู้ขายควรดำเนินการอย่างไรให้ปลอดภัยต่อการซื้อมากที่สุด จะต่อรองแบบหนักแต่ด้านของผู้ซื้อหรือผู้ขายฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถที่จะชัดเจนได้เสมอไป เพราะความสัมพันธ์ในด้านการซื้อขายก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงเช่นกัน ทางออกอีกวิธีก็คือ คงต้องส่งมอบแบบ EX-WORK ละกันทางออกที่แก้ปัญหาอย่างนิ่มนวลและผู้ขายก็ไม่ยุ่งยากเรื่องการทำส่งออกเช่นกัน

  • EX-WORK เป็นการซื้อขายที่มูลค่าสินค้าเพียงอย่างเดียว ณ จุดผลิตหรือขายของผู้ขาย หรือที่เรียกกันว่า หน้าโรงงานนั่นเองลักษณะนี้ มูลค่าสินค้าจะมีราคาที่ถูกกว่า FOB เนื่องจากไม่มีค่าขนส่งจากโรงงานผู้ขายมายังท่าเรือในประเทศของผู้ขายการดำเนินการจะเป็นของผู้ซื้อทั้งหมด ผู้ขายมีหน้าทีจัดเตรียมนัดวันรับสินค้าให้แก่ผู้ขายเพียงอย่างเดียว ทีนี้หล่ะ การควบคุมต่างๆอยู่ในกำมือของเราละจะจ่ายเต็ม 100% ก็ทำได้ โดยเราติดต่อ เพื่อดำเนินการให้เราตั้งแต่รับสินค้าหน้าโรงงานของผู้ขาย ขนส่งลงท่าเรือ และ ต่อมายังประเทศเรา มั่นใจได้ว่าผู้ขายมีตัวตนมีสินค้าจริง ได้ของชัวร์ ปลอดภัยอย่างแน่นอนครับเมื่อตกลงจะซื้อจะขายแล้วต้องไม่ลืมไปว่า ผู้ขาย สามารถออกเอกสารลดหย่อนภาษีFTAให้เราได้หรือไม่ เพราะนั่นหมายถึงการลดต้นทุนทางภาษีของเราเอง ถ้าออกให้ได้ก็จะดีมากครับ แต่ที่พบเจอบ่อยคือ ชื่อในการส่งออก กับชื่อในเอกสารขอลดหย่อนภาษีนำเข้า ไม่ตรงกัน ซึ่งนั่นก็หมายถึงเราจะไม่ได้สิทธิ์ ในการลดหย่อนภาษี ซึ่งมีรายละเอียดยิบย่อยของตัวเอกสารเอง สามารถให้ทาง เราเป็นผู้ตรวจสอบให้ได้ โดย ให้ผู้ขายส่งแบบร่างการออกหนังสือส่ง E-Mail มาให้ทางเราตรวจสอบก่อนการออกเอกสารจริง ว่าเอกสารนั้นถูกต้องหรือไม่ เมื่อเอกสารจริงดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายต้องส่งให้กับเราโดยทาง AIR MAIL ก่อนที่สินค้าจะเดินทางมาถึงเพื่อเตรียมดำเนินการทางศุลกากร
  • การแพ๊คสินค้า แพ๊คเกจเพื่อการขนส่งจะเอาแบบไหนดี สินค้าจะเสียหายหรือจะคุ้มครองสินค้าระหว่างการขนส่งได้ดีเพียงใด ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งหากส่งสินค้ามาแบบตู้สินค้ารวม LCL รวมกับสินค้าของผู้อื่น แน่นอนว่าก็ต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้างภายในตู้ ซึ่งควรตัดสินใจเลือกใช้แพ๊คเกจที่มีความแข็งแรง และจำเป็นต้องให้ผู้ขายจัดหาให้ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการทำแพ๊คกิ้งเพิ่ม ต้นทุนเพิ่มอีกนิด เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสินค้าเสียหายเมื่อมาถึง

เมื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ดำเนินการในประเทศเป็นขั้นตอนต่อไป คือติดต่อทางด้านศุลกากรซึ่งทาง ชิปปิ้ง จะเป็นผู้ดำเนินการให้ ท่านก็เพียงเตรียมการในด้าน เงินชำระค่าภาษี และ ค่าขนส่ง ค่าดำเนินการ รอรับสินค้าได้เลย